ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์บทเรียนออนไลน์ รายวิชา ประวัติศาสตร์ 4 รหัสวิชา ส33106 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  
     
 
 
 
หน่วยที่ 1 ความหมาย สาเหตุ ลักษณะ และประเภทของภูมิปัญญาไทย

1.4 ประเภทของภูมิปัญญาไทย

ประเภทของภูมิปัญญาไทย เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. ภูมิปัญญาชาติ
  3. ภูมิปัญญาหลวง

1. ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นภูมิปัญญาระดับชาวบ้าน ชุมชน ที่มีเฉพาะตามลักษณะของชุมชนของตนเอง



ภาพที่ 1.4-1 ภูมิปัญญาท้องถิ่น - การถนอมอาหาร

2. ภูมิปัญญาชาติ

ภูมิปัญญาชาติ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการยอมรับเป็นความรู้ที่มีการถ่ายทอดอย่างกว้างขวาง เช่น การทอผ้าไหม การปลูกเรือนทรงไทย การใช้พืชสมุนไพรรักษาโรค ส่วนความเชื่อว่าต้นไม้มักมีรุกขเทวดาอยู่ เป็นความเชื่อที่มีอยู่ในทุกภาคของประเทศ เป็นกุศโลบายเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติมาช่วยอนุรักษ์ป่าไม้ ลดการตัดไม้ขนาดใหญ่ เพราะกลัวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงโทษให้เจ็บป่วย



ภาพที่ 1.4-2 ภูมิปัญญาชาติ - การทอผ้าไหม

3. ภูมิปัญญาหลวง

ภูมิปัญญาหลวง เป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ทำให้เกิดวัฒนธรรมร่วมแบบราชสำนักเน้นความสำคัญที่กษัตริย์ เช่น ตำราพิชัยสงคราม ตำราขนบธรรมเนียบพระราชพิธี


ภาพที่ 1.4-3 ภูมิปัญญาหลวง - ตำราพิชัยสงคราม
    ภาพที่
    อ้างอิงแหล่งที่มา
    1.4-1
    1.4-2
    1.4-3