ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์บทเรียนออนไลน์ รายวิชา ประวัติศาสตร์ 4 รหัสวิชา ส33106 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  
     
 
 
 
หน่วยที่ 3 ภูมิปัญญาด้านอาหาร

3.3 ประเภทของอาหาร และวิธีการบริโภคอาหาร

1. ประเภทของอาหาร

สำหรับประเภทของอาหาร จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. อาหารคาว
  2. อาหารคาว ตามบันทึกของชาวต่างชาติที่เข้ามาในสมัยอยุธยา ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า คนไทยรับประทานอาหารหลัก คือ ข้าว ปลา ผัก และดื่มแต่น้ำเปล่า เครื่องปรุงหลักของอาหารไทยทำจากกุ้ง และปลา ได้แก่ กะปิ ปลาร้า และจากหลักฐานที่พบแสดงให้เห็นว่าคนไทยนิยมรับประทานอาหารประเภทแกงมาตั้งแต่อยุธยา

    บันทึกของพระสังฆราชปาลเลอกัวซ์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แสดงให้เห็นว่า คนไทยมีอาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์ และรับเอาวัฒนธรรมการบริโภคอาหารจีนมาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมไทย

    พระราชนิพนธ์กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานของรัชกาลที่ 2 จะให้ภาพอาหารชาววังและวิธีการบริโภคของคนชั้นสูง ซึ่งมีการใช้เครื่องเทศหลายชนิด มีเทคนิคการปรุงที่ซับซ้อนกว่าเดิม และมีอิทธิพลของอาหารต่างชาติทั้งของจีน แขก ญี่ปุ่น

  3. อาหารหวาน หรือของหวาน
  4. อาหารหวาน หรือของหวาน จะทำเนื่องในงานประเพณีท้องถิ่น เช่น ข้าวเหนียวแดง กะละแม มีในงานตรุษสงกรานต์ ขนมต้มแดง มีในพิธีพราหมณ์ เครื่องปรุงที่สำคัญ คือ แป้ง น้ำตาล และมะพร้าว

    ในสมัยอยุธยามีขนมหวานที่ได้รับอิทธิพลมาจากโปรตุเกส เช่น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด ขนมเหล่านี้เพิ่มการใช้ไข่ในส่วนประกอบหลักของขนมไทย




วิดีทัศน์ที่ 3.3-1 อาหารไทย ครัวไทยสู่ครัวโลก

2. วิธีการบริโภค

แบบดั้งเดิม ใช้มือเปิบ (การใช้นิ้วตะล่อมข้าวเข้าปาก) สำหรับการบริโภคอาหารในหมู่ชนชั้นสูงในสังคมไทย นิโกลาส์ แชรแวส ได้กล่าวถึงการเลี้ยงรับรองแขกของชนชั้นสูงในสมัยอยุธยา ซึ่งจะจัดสำรับเฉพาะบุคคล โดยแต่ละสำรับจะมีทั้งข้าว อาหารคาวหวาน ผลไม้บรรจุภาชนะที่มีค่า

แบบใหม่ ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ ยกเลิกการนั่งกับพื้นรับประทาน และเปิบข้าวกิน หันมานิยมการนั่งโต๊ะอาหารรับประทานพร้อมกัน และใช้ช้อนส้อมเป็นอุปกรณ์สำคัญในการรับประทาน ผู้คนทั่วไปยังคงใช้สำรับกับข้าวร่วมกัน ในภายหลังยังมีความนิยมในการรับประทานอาหารตามร้านอาหารอีกด้วย



ภาพที่ 3.3-1 การใช้มือเปิบ



ภาพที่ 3.3-2 การนั่งโต๊ะอาหารรับประทาน

    ภาพที่
    อ้างอิงแหล่งที่มา
    3.3-1
    3.3-2

    วิดีทัศน์ที่
    อ้างอิงแหล่งที่มา
    3.3-1