2.3 ลักษณะของเรือนไทย
ลักษณะของเรือนไทย หรือ บ้านทรงไทย แต่เดิมนิยมใช้วัสดุจำพวกไม้ ไปจนถึงเครื่องก่ออิฐถือปูน โดยมีลักษณะร่วมที่เหมือนหรือแตกต่างกันไปตามแต่ละภาค ได้แก่ เรือนไทยภาคเหนือ เรือนไทยภาคกลาง เรือนไทยภาคอีสาน และ เรือนไทยภาคใต้ ซึ่งล้วนสอดคล้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยในสมัยก่อนและแสดงออกถึงภูมิปัญญาไทย โดยทั่วไปจะมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. หลักการ
หลักการ เป็นเรือนสำเร็จรูปชั้นเดียว สร้างเป็นส่วน ๆ โดยใช้ระบบเข้าลิ่มเข้าเดือยเป็นตัวยึดแทนการใช้ตะปู
ภาพที่ 2.3-1 สลักเดือย
2. โครงสร้าง แบ่งตามประเภทวัสดุที่ใช้
ก. เรือนเครื่องผูก ทำจากวัสดุที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่นทั่วไทย เช่น ไม้ไผ่ หวาย ใบจาก มีการใช้ไม้ไผ่ หรือหวายมีการผูกรัดส่วนต่าง ๆ เข้าเป็นตัวเรือน จึงเรียกว่า เรือนเครื่องผูก เรือนชนิดนี้มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก เสาเรือนใช้ไม้ไผ่โครงสร้างหลัก คือ ยกพื้นสูง ที่พบเห็นในปัจจุบัน คือ กระต๊อบ เพิง เถียงนา
ภาพที่ 2.3-2 เรือนเครื่องผููก
ข. เรือนเครื่องสับ เรียกอีก ชื่อหนึ่งว่า เรือนฝากระดาน หรือฝาประกน เป็นเรือนที่พัฒนามาจากเรือนเครื่องผูก แต่ใช้ไม้จริง หรือไม้เนื้อแข็งที่มีความมั่นคงในการสร้างเสาเรือน พื้นใช้ไม้กระดาน หลังคาใช้กระเบื้องดินเผา หรือไม้ ฝาเรือน เป็นฝาไม้ประดิษฐ์เป็นแผง เรียกว่า ฝาปะกน ส่วนใหญ่ที่ครอบครองมักจะมีฐานะดี เช่น ขุนนาง เจ้านาย
ภาพที่ 2.3-3 เรือนเครื่องสับ
วิดีทัศน์ที่ 2.3-1 ลักษณะไทย ตอนที่ 216 : สถาปัตยกรรมเรือนไทยเดิม ๑ | 3 ส.ค. 59 | ThairathTV
วิดีทัศน์ที่ 2.3-2 ลักษณะไทย ตอนที่ 217 : สถาปัตยกรรมเรือนไทยเดิม ๒ | 4 ส.ค. 59 | ThairathTV
หนังสือเรียน เล่ม 1 ประวัติศาสตร์ไทย : เวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ประเด็นวิภาค บุคคลสำคัญ และภูมิปัญญาไทย. สำนักพิมพ์ บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด. แต่งโดย วงเดือน นาราสัจจ์ และคณะ. (2559). หน้า 170 | |
หนังสือเรียน เล่ม 1 ประวัติศาสตร์ไทย : เวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ประเด็นวิภาค บุคคลสำคัญ และภูมิปัญญาไทย. สำนักพิมพ์ บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด. แต่งโดย วงเดือน นาราสัจจ์ และคณะ. (2559). หน้า 171 |