ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์บทเรียนออนไลน์ รายวิชา ประวัติศาสตร์ 4 รหัสวิชา ส33106 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  
     
 
 
 
หน่วยที่ 4 ภูมิปัญญาด้านเครื่องนุ่งห่ม

4.2 พัฒนาการของเครื่องนุ่งห่ม

พัฒนาการของเครื่องนุ่งห่ม จะแบ่งตามสมัยดังนี้

1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ : รู้จักการใช้ประโยชน์จากเส้นใยของพืชและสัตว์เพื่อนำมาถักทอทำเครื่องนุ่งห่ม พบหลักฐานการใช้ผ้าฝ้ายและผ้าไหมที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงแสดงว่ามนุษย์รู้จักนำวัสดุธรรมชาติมาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม



ภาพที่ 4.2-1 ต้นฝ้าย

2. สมัยประวัติศาสตร์

สมัยประวัติศาสตร์ : มีการทอผ้าขึ้นมาใช้ ตั้งแต่สมัยทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้ สุโขทัย และสมัยอยุธยามีการทอเพื่อใช้เองและจำหน่าย บางโอกาสพระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานผ้า เช่น ผ้าสมปัก เพื่อปูนบำเหน็จเป็นรางวัลให้แก่ข้าราชการผู้มีความดีความชอบ เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างพ่อค้าอยุธยากับต่างชาติที่นำผ้าเข้ามาแลกเปลี่ยนทำการค้ากัน



ภาพที่ 4.2-2 รูปประติมากรรมสมัยทวารวดี แสดงให้เห็นการแต่งกายของสตรีสมัยทวารวดี

3. สมัยรัตนโกสินทร์

สมัยรัตนโกสินทร์ : ในช่วงรัชกาลที่ 1 - 3 การแต่งกายยังคงรูปแบบเดิม แต่มีการรื้อฟื้นกฎระเบียบการแต่งกายของชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ชาย เริ่มมีการแต่งกายเป็นแบบแผน คือ การสวมเสื้อราชปะแตน นุ่งกางเกง หรือนุ่งโจงกระเบนสีกรมท่า สวมถุงน่อง รองเท้า สำหรับหญิง ช่วงแรกจะนุ่งผ้าจีบหน้านาง ห่มแพร และทรงสะพักสไบปักไว้ด้านนอก สวมรองเท้า ต่อมาเริ่มมีการปรับเป็นนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนยาวพอง (แขนหมูแฮม) ประดับลูกไม้ และสะพายแพรไว้แทนสไบ ไว้ผมดัด การแต่งกายแบบตะวันตกเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเกิดการค้าผ้าสำเร็จรูปจนมีพัฒนาการมาถึงปัจจุบัน



ภาพที่ 4.2-3 พัฒนาการของเครื่องนุ่งห่มสมัยรัตนโกสินทร์

    ภาพที่
    อ้างอิงแหล่งที่มา
    4.2-1
    4.2-2
    4.2-3