4.3 พัฒนาการการแต่งกายของคนไทย
การแต่งกายของคนไทยในสมัยโบราณนั้น คนไทยใช้เสื้อผ้าน้อยชิ้น คือ นุ่ง 1 ชิ้น และห่มอีก 1 ชิ้น ความแตกต่างอยู่ที่เนื้อหา ราคาของผ้า และสถานภาพทางสังคม
1. สมัยสุโขทัย
หญิง - นุ่งโจง (สามัญชน) สตรีสูงศักดิ์นุ่งผ้ายาวกรอมเท้า ซ้อนเป็นชั้น ๆ คาดเข็มขัดทิ้งชาย อาจมีผ้าคาดอก หรือคล้องคอ
ชาย - นุ่งโจงกระเบนทั้งสั้น และยาว (ชนชั้นสูง) มีชายพกด้านหน้าหรือคาดทิ้งชายยาวด้านข้าง คาดทับด้วยเข็มขัดไม่สวมเสื้อ
ภาพที่ 4.3-1 พัฒนาการการแต่งกายของคนไทยสมัยสุโขทัย
2. สมัยอยุธยา
ผ้านุ่ง : ทั้งชายและหญิงมีวิธีนุ่งผ้าต่างกันไปตามสถานภาพ คือ ถ้าเป็นสามัญชน ชาย-หญิง จะนุ่งโจงกระเบนหรือนุ่งผ้าโสร่งลอยชาย ส่วนหญิง-ชายสูงศักดิ์จะนุ่งผ้ายาวกรอมเท้าจีบหน้านาง คาดเข็มขัด ชายพกมีขนาดเล็กลง ส่วนทหารจะสวมกางเกงขายาว
ผ้าห่ม : หญิงจะมีวิธีห่มผ้าหลายรูปแบบ คือ ห่มเฉียงบ่า ห่มตะแบงมานห้อยคล้องคอ และห่มสะพักสองบ่าสำหรับสตรีสูงศักดิ์อาจสวมเสื้อคอแหลมผ่าหน้าไว้ด้านใน ถ้าอากาศหนาวอาจเป็นการห่มคลุม สำหรับชายจะมีผ้าพาดบ่า (ผ้าเฉียง) ไม่สวมเสื้อ ยกเว้นเจ้านายขุนนางจะสวมเสื้อเวลามีงานพิธี
ภาพที่ 4.3-2 พัฒนาการการแต่งกายของคนไทยสมัยอยุธยา
3. สมัยรัตนโกสินทร์
รัชกาลที่ 1-3 ยังคงแต่งกายตามแบบของอยุธยา แต่ได้ใช้กฎระเบียบการแต่งกายของชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม
สมัยรัชกาลที่ 4 การติดต่อสมาคมกับชาติตะวันตกมากขึ้น ทำให้รูปแบบการแต่งกายเปลี่ยนไปตามแบบสากลมากขึ้น
ภาพที่ 4.3-3 พัฒนาการการแต่งกายของคนไทยสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 4
สมัยรัชกาลที่ 5 การแต่งกายทั้งชายหญิงเริ่มมีแบบแผนตามชาติตะวันตกมากขึ้น
ภาพที่ 4.3-4 พัฒนาการการแต่งกายของคนไทยสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 5 ตอนกลาง
ภาพที่ 4.3-5 พัฒนาการการแต่งกายของคนไทยสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 5 ตอนปลาย
สมัยรัชกาลที่ 6 รูปแบบการแต่งกายแบบตะวันตก โดยเฉพาะสตรีปรับเปลี่ยนเป็นแบบตะวันตกอย่างสิ้นเชิงจนพัฒนามาถึงยุคปัจจุบัน
ภาพที่ 4.3-6 พัฒนาการการแต่งกายของคนไทยสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 6
ภาพที่ 4.3-7 พัฒนาการการแต่งกายของคนไทยสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 7
ภาพที่ 4.3-8 พัฒนาการการแต่งกายของคนไทยสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 8